การใช้งานวิทยุสมัครเล่นวิทยุสมัครเล่นเรื่องที่แนะนำ

Q Code คืออะไร ความหมายของ Q Code สําหรับนักวิทยุสมัครเล่น ประมวลสัญญาณ Q Code

Q Code คืออะไร ความหมายของ Q Code สําหรับนักวิทยุสมัครเล่น ?
Q Code คือคำย่อซึ่งประเทศภาคีสมาชิกในภาคีโทรเลขระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษาในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุโทรเลข อย่างเช่น การส่งในระบบ CW (Continuous Wave) ระหว่างสถานีเรือกับสถานีตามชายฝั่งระหว่างสถานีเรือด้วยกันและในกิจการด้านการบิน

ทำไมต้องใช้ Q Code

  • ทำให้การรับและส่งข้อความสำหรับวิทยุโทรเลขกระชับมากขึ้น คือแทนที่จะต้องส่งข้อความยาวๆซึ่งใช้เวลาในการรับและส่ง ก็จะใช้รหัสสั้น ๆ แทน เช่น แทนที่จะเคาะรหัสมอร์สว่า “ท่านเดินทางมาจากไหน” จะเคาะรหัสมอร์สเพียงว่า “ QRD ” เป็นต้น
  • เพื่อลดปัญหาด้านภาษาที่ใช้ติดต่อกัน คือไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษก็สามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น

ในความเป็นจริงของนักวิทยุสมัครเล่นที่ติดต่อกันในระบบ CW จะใช้รหัส Q สำหรับการติดต่อ แต่ในระบบวิทยุโทรศัพท์ไม่จำเป็นต้องใช้รหัส Q เพราะการพูดจะสามารถสื่อสารได้เร็วกว่าการใช้รหัสมอร์ส และเข้าใจได้ชัดเจนกว่าการใช้รหัส Q
แต่ก็ยังนิยมใช้ Q Code ในโหมดวิทยุโทรศัพท์ด้วยรหัส Q แต่ละคำประกอบด้วยพยัญชนะ 3 ตัว ตัวแรกขึ้นตันด้วย Q มีตั้งแต่ QAA – QUZ แต่ละคำจะมีความหมายเป็นได้ทั้งคำถามและคำตอบ

Q Code Amateur Radioประมวลสัญญาณ Q Code

โค้ด “Q”

รูปแบบคำถาม

รูปแบบคำตอบ

QRA

ขอทราบชื่อของคู่สถานี

แจ้งชื่อสถานีของตนให้คู่สถานีทราบ
หมายเหตุใช้เป็นคำนามหมายถึง “ตำบลที่อยู่”

QRB

สอบถามคู่สถานีว่าอยู่ห่างจากสถานีของตนมากน้อยเพียงใด?

แจ้งคู่สถานีว่า “สถานีของตนอยู่ห่างเป็นระยะทางประมาณ… (ระบุระยะทางต่อท้าย QRB)…”

QRD

ถามคู่สถานีว่า “ท่านเดินทางมาจากไหน และกำลังจะเดินทางไปที่ใด?”

แจ้งคู่สถานีว่า “ได้เดินทางมาจาก… (ระบุชื่อสถานที่ต้นทาง) …และกำลังมุ่งหน้าไปยัง… (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)…

QRE

สอบถามคู่สถานีว่าจะไปถึงสถานที่ปลายทางเวลาประมาณเท่าใด?

แจ้งคู่สถานีว่า “จะเดินทางไปสถานที่ปลายทางเวลาประมาณ… (ระบุเวลาต่อท้ายQRE)…”

QRF

ถามคู่สถานีว่า “ท่านจะเดินทางกลับไปยัง… (ระบุชื่อสถานที่ต่อท้าย QRF )…หรือไม่

แจ้งคู่สถานีว่า “จะเดินทางไปยัง… (ระบุสถานที่ต่อท้าย QRF)…”

QRG

ขอทราบความถี่ของตนที่แน่นอน (ขอให้คู่สถานีตรวจสอบความถี่ของตน)

แจ้งความถี่ที่แน่นอนของคู่สถานีที่สอบถามมา หมายเหตุใช้เป็นคำนามหมายถึง “ความถี่”

QRH

ขอทราบความถี่ของตนคลาดเคลื่อนไปมากน้อยเพียงใด?

แจ้งความคลาดเคลื่อนของความถี่ของคู่สถานีตามที่สอบถามมา

QRK

ขอทราบความชัดเจนของสัญญาณของตน

แจ้งความชัดเจนของคู่สถานีที่สอบถามมา แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
QRK – 1 : รับฟังไม่ได้เลย
QRK – 2 : รับฟังได้ค่อนข้างยาก จับใจความได้บางตอน
QRK – 3 : พอรับฟังได้
QRK – 4 : รับฟังได้ชัดเจน ไม่มีปัญหา
QRK – 5 : รับฟังได้ชัดเจนที่สุด
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “ความแรงของสัญญาณ”

QRL

ขอทราบว่าคู่สถานีว่างหรือไม่

แจ้งคู่สถานีว่า “ยังไม่ว่าง กรุณาอย่ารบกวน”

QRM

ขอทราบว่าคู่สถานีถูกสัญญาณจากสถานีอื่นรบกวนหรือไม่?

แจ้งคู่สถานีว่า “กำลังถูกสัญญาณจากสถานีอื่นรบกวน”
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “การรบกวนจากสถานีอื่น”

QRN

ขอ ทราบว่าคู่สถานีถูกเสียงรบกวน (ไม่ใช่สัญญาณจากสถานีอื่น เป็นเสียงรบกวนที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงโครกคราก ซู่ซ่า หรือเสียงรบกวนที่เกิดจากเครื่องยนต์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า เป็นต้น) หรือไม่?

แจ้งคู่สถานีว่า “มีเสียงรบกวนเข้ามา รบกวนการรับฟัง”
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “เสียงรบกวน (Noise)”

QRO

ขอให้คู่สถานีเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้นจะได้หรือไม่

แจ้งคู่สถานีว่า “ได้เพิ่มกำลังส่งสูงขึ้นแล้ว”
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “ส่งด้วยกำลังส่งที่สูงขึ้น”

QRP

ขอให้คู่สถานีลดกำลังส่งลงจะได้หรือไม่?

แจ้งคู่สถานีว่า “ได้ลดกำลังส่งให้ต่ำลงแล้ว”
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “ส่งด้วยกำลังส่งต่ำลง”

QRQ

ขอทราบว่าหากจะส่งข้อความ (ของข่าว) ให้เร็วขึ้น คู่สถานีจะขัดข้องหรือไม่?

แจ้งคู่สถานี “ให้ส่งข้อความ (ของข่าว) ให้เร็วขึ้น”

QRS

ขอทราบว่าหากจะส่งข้อความ (ของข่าว) ให้ช้าลง คู่สถานีจะขัดข้องหรือไม่

แจ้งคู่สถานี “ให้ส่งข้อความ (ของข่าว) ให้ช้าลง”

QRT

ขอทราบว่าหากจะหยุดการส่งข้อความ (ของข่าว) คู่สถานีจะขัดข้องหรือไม่?

แจ้งคู่สถานีให้หยุดการส่งข้อความ (ของข่าว)ได้
หทายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “ปิดสถานีเลิกการติดต่อ”

QRU

ถามคู่สถานีว่า “ท่านมีข่าวหรือต้องการสิ่งใดหรือไม่”

แจ้งคู่สถานีว่า “ไม่มีข่าว” หรือ “ไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว”

QRV

ถามคู่สถานีว่า “ท่านพร้อมที่จะทำการติดต่อ (รับ-ส่งข่าว) แล้วหรือยัง?

แจ้งคู่สถานีว่า “พร้อมที่จะทำการติดต่อ (รับ-ส่งข่าว) แล้ว”

QRX

ถามคู่สถานีว่า “ท่านจะเรียกติดต่อมาอีกเมื่อใด?”

แจ้งคู่สถานีว่า “จะเรียกติดต่อมาอีกในเวลา…(ระบุเวลา) ต่อท้ายด้วย QRX…”
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “การเฝ้ารอการติดต่อ (Standby)” หรือใช้เป็นภาษาพูดหมายถึง “กรุณารอก่อน”

QRZ

สอบถามว่าสถานีใดเรียกขานเข้ามา

แจ้งคู่สถานีให้ทราบว่ามีสถานี… (ระบุสัญญาณเรียกขานต่อท้าย QRZ…ด้วยความถี่… (ระบุความถี่) …หรือช่อง… (ระบุช่อง)…”

QSA

ขอทราบความแรงของสัญญาณจากสถานีของตน (ให้คู่สถานีตรวจสอบให้)

แจ้งความแรงของสัญญาณของคู่สถานีตามที่สอบถามมาแบ่งออกเป็น แบ่งออกเป็น 9 ระดับ คือ
S-1 : ความแรงของสัญญาณเบามาก รับได้ยาก
S-2 : เบามาก
S-3 : เบา
S-4 : พอใช้ได้
S-5 : ใช้การได้
S-6 : ใช้การได้
S-7 : แรงปานกลาง
S-8 : แรงมาก
S- 9 : แรงมากทีเดียว
หมายเหตุ เครื่องรับ – ส่งวิทยุที่มีมาตรวัดความแรงของสัญญาณ (S-Meter) จะมีสเกลระบุเป็นตัวเลข “ + 20 dB” “+40 dB” “+60 dB” ซึ่งใช้วัดความแรงของสัญญาณสูงกว่าระดับ S-9 ซึ่งคู่สถานีจะรายงานว่า “S9+20dB” “S9+40dB” “S9+60dB” ตามลำดับ

QSB

สอบถามคู่สถานีว่า “สัญญาณของตนมีการจางหายหรือไม่?”

แจ้งสถานีให้ทราบว่าสัญญาณมีการจางหาย
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “การจางหาย (Fading)

QSL

สอบถามคู่สถานีว่าได้รับรู้ข่าวสารที่สถานีต้นทางส่งไปให้ แล้วหรือยัง

แจ้งคุ่สถานีว่าได้รับรู้ (รับทราบ) แล้ว
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “บัตรที่ใช้ในการตอบรับการรายงานผลการรับฟัง (QSL Card )

QSP

สอบถามคู่สถานีว่า จะช่วยถ่ายทอดข่าวสารของตนไปยังสถานี… (ระบุสัญญาณเรียกขานของสถานีปลายทางต่อท้าย QSP)…ได้หรือไม่

แจ้งคู่สถานีว่า สามารถถ่ายทอดข้อความข่าวสารของคู่สถานีไปยังสถานีปลายทางได้
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “การถ่ายทอดข้อความหรือข่าวสาร”

QSY

สอบ ถามคู่สถานีว่าหากจะเปลี่ยนไปใช้ความถี่อื่น (ระบุความถี่เป็น KHz หรือ MHz) หรือช่องความถี่อื่น (ระบุช่อง) จะขัดข้องหรือไม่

แจ้งคู่สถานีว่าให้เปลี่ยนไปใช้ความถี่หรือช่องความถี่อื่น
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “การเปลี่ยนความถี่ หรือช่องความถี่”

QTH

สอบถามคู่สถานีว่าอยู่ที่ใด

แจ้งคู่สถานีให้ทราบว่าตนกำลังอยู่ที่ใด (ขณะที่กำลังเคลื่อนที่) หรือสถานีของตนตั้งอยู่ที่ใด
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “สถานที่ตั้ง” หรือ “สถานที่อยู่”

QTR

สอบถามคู่สถานีว่าเวลาถูกต้องขณะที่สอบถามเป็นเวลาใด (ขอเทียบเวลา)

แจ้งสถานีว่าเวลาที่ถูกต้องคือเวลา ผ ระบุเวลาขณะที่แจ้งต่อท้าย QTR…”
หมายเหตุ ใช้เป็นคำนามหมายถึง “การเทียบเวลา”

 บทความโดย HS3LZX

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *