วิทยุสื่อสาร

ว ดํา กับ ว แดง ต่างกันอย่างไร

ว ดํา กับ ว แดง ต่างกันอย่างไร ? บทความนี้จะพูดถึงเรื่องของความแตกต่างระหว่างวิทยุสื่อสารเครื่องสีดำกับเครื่องสีแดงที่ใช้ในประเทศไทยกันครับ

ท่านที่รู้แล้วก็ปล่อยผ่านไปเลยก็ได้นะครับ สามารถเลือกอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจในบล็อคผมได้เลย แต่ผมก็เชื่อว่ามีหลายคนมากที่ยังไม่รู้ความแตกต่างของวิทยุสื่อสารเครื่องดำกับแดงครับ โดยมีการจำแนกออกเป็นดังนี้

วิทยุสื่อสารสีดำ

วิทยุสื่อสารสีดำ หรือเครื่องดำที่คนนิยมเรียกนั่นเองจำแนกได้เป็น

 1. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1

ผู้ใช้งานสามารถตั้งความถี่ได้เองหน้าเครื่อง ก็คือเครื่องดำที่เราเห็นทั่วๆ ไป มีหน้าจอมีความถี่ ให้ใช้เฉพาะคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 นี้ ใช้ในทั้งสิ้น 18 หน่อยงาน ได้แก่

  1. กองทัพบก
  2. กองทัพอากาศ
  3. กองทัพเรือ
  4. สํานักพระราชวัง
  5. สํานักราชเลขาธิการ
  6. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
  7. สํานักข่าวกรองแห่งชาติ
  8. สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  9. สํานักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  10. สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  11. สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  12. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  13. สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  14. กรมศุลกากร
  15. กรมสอบสวนคดีพิเศษ
  16. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  17. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  18. กระทรวงมหาดไทย เฉพาะบุคคลที่ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้

ส่วนกลาง

  • ปลัดกระทรวงมหาดไทยและรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • เลขานุการปลัดกระทรวงมหาดไทยและเลขานุการรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และ ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
  • อธิบดีกรมการปกครองรองอธิบดีกรมการปกครองและอธิการวิทยาลัยการปกครอง
  • เลขานุการอธิบดีกรมการปกครอง เลขานุการรองอธิบดีกรมการปกครอง และ เลขานุการอธิการวิทยาลัยการปกครอง
  • ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และ กรมการปกครอง
  • หัวหน้าสํานักงานเลขานุการรัฐมนตรี
  • หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรมการ ปกครอง

ส่วนภูมิภาค

  • ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด
  • ปลัดจังหวัดผู้ช่วยปลัดจังหวัด หัวหน้าฝ่ายปกครองจังหวัดและหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
  • หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและเลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัด
  • นายอําเภอ ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ ปลัดอําเภอ
  • ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่น และเสมียนตราจังหวัด ที่ทําการปกครองจังหวัด

2. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2

โดยผู้ใช้งานไม่สามารถตั้งความถี่ได้เองที่เครื่อง จะใช้ความถี่ไหนประจำก็โปรแกรมเอา ให้ใช้เฉพาะคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนมากไม่มีหน้าจอ ไม่มีตัวเลข หรืออาจจะมีแค่เลขช่องที่บันทึกไว้ การใช้งานหน่วยงานที่ใช้ได้แก่

  • หน่วยงานของรัฐ (ที่นอกเหนือจาก 18 หน่วยงาน)
  • หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ, ภาคเอกชน, องค์กรเพื่อการกุศล
  • บุคคลทั่วไปที่ร่วมใช้ความถี่กับหน่วยงานภาครัฐ เช่น อปพร. อาสาสมัคร

3. เครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่น

เป็นวิทยุสื่อสารสำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น ต้องอบรมและสอบ หรือสอบให้ได้ก่อนนะครับ เป็นเครื่องดำที่ส่วนใหญ่หน้าตาคล้ายกับสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 แต่จะใช้เฉพาะความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นและหลักเกณฑ์การใช้งานตาม Band Plan เท่านั้น

วิทยุสื่อสารสีแดง และ เหลือง

วิทยุสื่อสารเครื่องสีแดงเป็นวิทยุสื่อสารสำหรับประชาชนทั่วไป ภาคเอกชน หรือหน่วยงานรัฐก็ใช้ได้ หรือจะเรียกว่า CB (Citizens band) ก็ได้ ที่ใช้ในไทยนอกจากจะมีเครื่องแดงแล้ว ยังมีเครื่องเหลืองด้วยครับ จำแนกออกเป็น

เครื่องสีแดง

เป็นวิทยุคมนาคมความถี่ภาคประชาชน ที่มีตัวเครื่องสีแดง ใช้ในประชาชนทั่วไป ภาคเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ ย่านความถี่ที่ใช้คือ 245 MHz ใช้งานได้ 160 ช่องความถี่

เครื่องสีเหลือง

เป็นวิทยุคมนาคมความถี่ภาคประชาชน ตัวเครื่องสีเหลือง ใช้ในประชาชนทั่วไป ภาคเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ ย่านความถี่ที่ใช้ได้คือ 78 MHz ใช้งานได้ 80 ช่องความถี่

 

หากข้อมูลตรงไหนตกหล่น เพื่อนๆ สามารถทักท้วงมาได้นะครับ หวังว่าเพื่อนๆ สมาชิกจะได้ประโยชน์จากบทความนี้นะครับ

และไม่ว่าจะใช้วิทยุสื่อสารแบบไหน ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องให้ถูกกฎหมายทั้งตัวเครื่องที่มีทะเบียน และทำการขออนุญาตมีและใช้ให้ถูกต้องด้วยนะครับ เตือนไว้ก่อนค่าปรับแพงมาก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *