Q Code คืออะไร ความหมายของ Q Code สําหรับนักวิทยุสมัครเล่น ประมวลสัญญาณ Q Code
Q Code คืออะไร ความหมายของ Q Code สําหรับนักวิทยุสมัครเล่น ?
Q Code คือคำย่อซึ่งประเทศภาคีสมาชิกในภาคีโทรเลขระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษาในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุโทรเลข อย่างเช่น การส่งในระบบ CW (Continuous Wave) ระหว่างสถานีเรือกับสถานีตามชายฝั่งระหว่างสถานีเรือด้วยกันและในกิจการด้านการบิน
ทำไมต้องใช้ Q Code
- ทำให้การรับและส่งข้อความสำหรับวิทยุโทรเลขกระชับมากขึ้น คือแทนที่จะต้องส่งข้อความยาวๆซึ่งใช้เวลาในการรับและส่ง ก็จะใช้รหัสสั้น ๆ แทน เช่น แทนที่จะเคาะรหัสมอร์สว่า “ท่านเดินทางมาจากไหน” จะเคาะรหัสมอร์สเพียงว่า “ QRD ” เป็นต้น
- เพื่อลดปัญหาด้านภาษาที่ใช้ติดต่อกัน คือไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษก็สามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น
ในความเป็นจริงของนักวิทยุสมัครเล่นที่ติดต่อกันในระบบ CW จะใช้รหัส Q สำหรับการติดต่อ แต่ในระบบวิทยุโทรศัพท์ไม่จำเป็นต้องใช้รหัส Q เพราะการพูดจะสามารถสื่อสารได้เร็วกว่าการใช้รหัสมอร์ส และเข้าใจได้ชัดเจนกว่าการใช้รหัส Q
แต่ก็ยังนิยมใช้ Q Code ในโหมดวิทยุโทรศัพท์ด้วยรหัส Q แต่ละคำประกอบด้วยพยัญชนะ 3 ตัว ตัวแรกขึ้นตันด้วย Q มีตั้งแต่ QAA – QUZ แต่ละคำจะมีความหมายเป็นได้ทั้งคำถามและคำตอบ
โค้ด “Q” | รูปแบบคำถาม | รูปแบบคำตอบ |
QRA | ขอทราบชื่อของคู่สถานี | แจ้งชื่อสถานีของตนให้คู่สถานีทราบ |
QRB | สอบถามคู่สถานีว่าอยู่ห่างจากสถานีของตนมากน้อยเพียงใด? | แจ้งคู่สถานีว่า “สถานีของตนอยู่ห่างเป็นระยะทางประมาณ… (ระบุระยะทางต่อท้าย QRB)…” |
QRD | ถามคู่สถานีว่า “ท่านเดินทางมาจากไหน และกำลังจะเดินทางไปที่ใด?” | แจ้งคู่สถานีว่า “ได้เดินทางมาจาก… (ระบุชื่อสถานที่ต้นทาง) …และกำลังมุ่งหน้าไปยัง… (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)… |
QRE | สอบถามคู่สถานีว่าจะไปถึงสถานที่ปลายทางเวลาประมาณเท่าใด? | แจ้งคู่สถานีว่า “จะเดินทางไปสถานที่ปลายทางเวลาประมาณ… (ระบุเวลาต่อท้ายQRE)…” |
QRF | ถามคู่สถานีว่า “ท่านจะเดินทางกลับไปยัง… (ระบุชื่อสถานที่ต่อท้าย QRF )…หรือไม่ | แจ้งคู่สถานีว่า “จะเดินทางไปยัง… (ระบุสถานที่ต่อท้าย QRF)…” |
QRG | ขอทราบความถี่ของตนที่แน่นอน (ขอให้คู่สถานีตรวจสอบความถี่ของตน) | แจ้งความถี่ที่แน่นอนของคู่สถานีที่สอบถามมา หมายเหตุใช้เป็นคำนามหมายถึง “ความถี่” |
QRH | ขอทราบความถี่ของตนคลาดเคลื่อนไปมากน้อยเพียงใด? | แจ้งความคลาดเคลื่อนของความถี่ของคู่สถานีตามที่สอบถามมา |
QRK | ขอทราบความชัดเจนของสัญญาณของตน | แจ้งความชัดเจนของคู่สถานีที่สอบถามมา แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ |
QRL | ขอทราบว่าคู่สถานีว่างหรือไม่ | แจ้งคู่สถานีว่า “ยังไม่ว่าง กรุณาอย่ารบกวน” |
QRM | ขอทราบว่าคู่สถานีถูกสัญญาณจากสถานีอื่นรบกวนหรือไม่? | แจ้งคู่สถานีว่า “กำลังถูกสัญญาณจากสถานีอื่นรบกวน” |
QRN | ขอ ทราบว่าคู่สถานีถูกเสียงรบกวน (ไม่ใช่สัญญาณจากสถานีอื่น เป็นเสียงรบกวนที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงโครกคราก ซู่ซ่า หรือเสียงรบกวนที่เกิดจากเครื่องยนต์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า เป็นต้น) หรือไม่? | แจ้งคู่สถานีว่า “มีเสียงรบกวนเข้ามา รบกวนการรับฟัง” |
QRO | ขอให้คู่สถานีเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้นจะได้หรือไม่ | แจ้งคู่สถานีว่า “ได้เพิ่มกำลังส่งสูงขึ้นแล้ว” |
QRP | ขอให้คู่สถานีลดกำลังส่งลงจะได้หรือไม่? | แจ้งคู่สถานีว่า “ได้ลดกำลังส่งให้ต่ำลงแล้ว” |
QRQ | ขอทราบว่าหากจะส่งข้อความ (ของข่าว) ให้เร็วขึ้น คู่สถานีจะขัดข้องหรือไม่? | แจ้งคู่สถานี “ให้ส่งข้อความ (ของข่าว) ให้เร็วขึ้น” |
QRS | ขอทราบว่าหากจะส่งข้อความ (ของข่าว) ให้ช้าลง คู่สถานีจะขัดข้องหรือไม่ | แจ้งคู่สถานี “ให้ส่งข้อความ (ของข่าว) ให้ช้าลง” |
QRT | ขอทราบว่าหากจะหยุดการส่งข้อความ (ของข่าว) คู่สถานีจะขัดข้องหรือไม่? | แจ้งคู่สถานีให้หยุดการส่งข้อความ (ของข่าว)ได้ |
QRU | ถามคู่สถานีว่า “ท่านมีข่าวหรือต้องการสิ่งใดหรือไม่” | แจ้งคู่สถานีว่า “ไม่มีข่าว” หรือ “ไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว” |
QRV | ถามคู่สถานีว่า “ท่านพร้อมที่จะทำการติดต่อ (รับ-ส่งข่าว) แล้วหรือยัง? | แจ้งคู่สถานีว่า “พร้อมที่จะทำการติดต่อ (รับ-ส่งข่าว) แล้ว” |
QRX | ถามคู่สถานีว่า “ท่านจะเรียกติดต่อมาอีกเมื่อใด?” | แจ้งคู่สถานีว่า “จะเรียกติดต่อมาอีกในเวลา…(ระบุเวลา) ต่อท้ายด้วย QRX…” |
QRZ | สอบถามว่าสถานีใดเรียกขานเข้ามา | แจ้งคู่สถานีให้ทราบว่ามีสถานี… (ระบุสัญญาณเรียกขานต่อท้าย QRZ…ด้วยความถี่… (ระบุความถี่) …หรือช่อง… (ระบุช่อง)…” |
QSA | ขอทราบความแรงของสัญญาณจากสถานีของตน (ให้คู่สถานีตรวจสอบให้) | แจ้งความแรงของสัญญาณของคู่สถานีตามที่สอบถามมาแบ่งออกเป็น แบ่งออกเป็น 9 ระดับ คือ |
QSB | สอบถามคู่สถานีว่า “สัญญาณของตนมีการจางหายหรือไม่?” | แจ้งสถานีให้ทราบว่าสัญญาณมีการจางหาย |
QSL | สอบถามคู่สถานีว่าได้รับรู้ข่าวสารที่สถานีต้นทางส่งไปให้ แล้วหรือยัง | แจ้งคุ่สถานีว่าได้รับรู้ (รับทราบ) แล้ว |
QSP | สอบถามคู่สถานีว่า จะช่วยถ่ายทอดข่าวสารของตนไปยังสถานี… (ระบุสัญญาณเรียกขานของสถานีปลายทางต่อท้าย QSP)…ได้หรือไม่ | แจ้งคู่สถานีว่า สามารถถ่ายทอดข้อความข่าวสารของคู่สถานีไปยังสถานีปลายทางได้ |
QSY | สอบ ถามคู่สถานีว่าหากจะเปลี่ยนไปใช้ความถี่อื่น (ระบุความถี่เป็น KHz หรือ MHz) หรือช่องความถี่อื่น (ระบุช่อง) จะขัดข้องหรือไม่ | แจ้งคู่สถานีว่าให้เปลี่ยนไปใช้ความถี่หรือช่องความถี่อื่น |
QTH | สอบถามคู่สถานีว่าอยู่ที่ใด | แจ้งคู่สถานีให้ทราบว่าตนกำลังอยู่ที่ใด (ขณะที่กำลังเคลื่อนที่) หรือสถานีของตนตั้งอยู่ที่ใด |
QTR | สอบถามคู่สถานีว่าเวลาถูกต้องขณะที่สอบถามเป็นเวลาใด (ขอเทียบเวลา) | แจ้งสถานีว่าเวลาที่ถูกต้องคือเวลา ผ ระบุเวลาขณะที่แจ้งต่อท้าย QTR…” |
บทความโดย HS3LZX